เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดกระบี่ นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเล อันดามัน โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง
นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวถึง ความก้าวหน้าการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามันในพื้นที่จังหวัด กระบี่ว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเสนอร่างกฏหมายในภาพรวมอยู่เพราะมหาวิทยาลัย เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการ ให้มีสภามหาวิทยาลัย ประกอบด้วย นายกสภามหาวิทยาลัย ซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๒ คน ซึ่งจะได้ทรงกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย อธิการบดี ประธานสภาคณาจารย์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย จำนวนห้าคน ซึ่งเลือกตั้งจากคณาจารย์ประจำ
นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสร้างและขยายโอกาสในการศึกษาวิจัยระดับสูง ให้แก่ประชากรในพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน จะได้ช่วยกระตุ้น และเร่งรัดการสะสมทุนมนุษย์และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดรับกับการเติบโตทาง เศรษฐกิจและ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน สถาบันอุดมศึกษานี้ จะเน้นหนักอุดมศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและการวิจัยในด้านทรัพยากรธรรมชาติพื้น ถิ่นทั้งบนดินและทางทะเล ซึ่งยังสามารถค้นคว้าและพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติได้อีกมาก สถาบันอุดมศึกษานี้ จะเป็นต้นแบบของการจัดการอุดมศึกษาเป็นสากล และเป็นต้นแบบของการร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับประชาชน ตามเจตนารมณ์ของประชาคมพื้นถิ่นชายฝั่งอันดามัน
Present by Tony Report.
วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ร่าง พรบ. จัดตั้งมหาวิทยาลัยอันดามันเสร็จเรียบร้อย
ร่าง พรบ. จัดตั้งมหาวิทยาลัยอันดามันเสร็จเรียบร้อย พร้อมเสนอสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่ เพื่อพิจารณาเสนอสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
นายชวน ภูเก้าล้วน นายกสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านนโยบายการพัฒนาจังหวัดกระบี่ ร่วมกับภาคราชการและภาคเอกชน โดยมี ดร.เทียนฉาย วีรนันท์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นพ้องต้องกันให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยประจำฝั่งอันดามัน โดยใช้ที่ดินบริเวณบ้านทุ่งขนุนปาน ต.ตลิ่งชัน จำนวน 2,346 ไร่ เป็นสถานที่ก่อสร้างนั้น ขณะนี้การร่างพระราชบัญญัติ จัดตั้งมหาวิทยาลัยเสร็จเรียบร้อย พร้อมนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เพื่อส่งต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่ เพื่อพิจารณาต่อสภาผู้แทนราษฎรตามขั้นตอนต่อไปแล้ว นายกสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าว นอกจากมีเป้าหมายผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีหลักสูตรศิลปศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิตแล้ว จะผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา คือ ระดับปริญญาโท เฉพาะหลักสูตรวิชาชีพ ที่มีความจำเป็นตามแผนพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมของภูมิภาค เช่น ด้านการเกษตรอุตสาหกรรม ด้านพลังงานสะอาด พลังงานทดแทน และด้านวิชาวิศวกรรมต่อเรือ และการพาณิชย์นาวี
present by Tony report.
นายชวน ภูเก้าล้วน นายกสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านนโยบายการพัฒนาจังหวัดกระบี่ ร่วมกับภาคราชการและภาคเอกชน โดยมี ดร.เทียนฉาย วีรนันท์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นพ้องต้องกันให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยประจำฝั่งอันดามัน โดยใช้ที่ดินบริเวณบ้านทุ่งขนุนปาน ต.ตลิ่งชัน จำนวน 2,346 ไร่ เป็นสถานที่ก่อสร้างนั้น ขณะนี้การร่างพระราชบัญญัติ จัดตั้งมหาวิทยาลัยเสร็จเรียบร้อย พร้อมนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เพื่อส่งต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่ เพื่อพิจารณาต่อสภาผู้แทนราษฎรตามขั้นตอนต่อไปแล้ว นายกสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าว นอกจากมีเป้าหมายผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีหลักสูตรศิลปศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิตแล้ว จะผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา คือ ระดับปริญญาโท เฉพาะหลักสูตรวิชาชีพ ที่มีความจำเป็นตามแผนพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมของภูมิภาค เช่น ด้านการเกษตรอุตสาหกรรม ด้านพลังงานสะอาด พลังงานทดแทน และด้านวิชาวิศวกรรมต่อเรือ และการพาณิชย์นาวี
present by Tony report.
"มหาวิทยาลัยอันดามัน" เปิดโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนจังหวัดฝั่งอันดามัน เน้นวิชาการที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เริ่มเปิดรับสมัครนักศึกษาแล้
"มหาวิทยาลัยอันดามัน" เปิดโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนจังหวัดฝั่งอันดามัน เน้นวิชาการที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เริ่มเปิดรับสมัครนักศึกษาแล้ว
นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวถึงการเปิดโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอันดามัน ในจังหวัดกระบี่ว่า เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนในจังหวัดฝั่งอันดามันและใกล้เคียง และ จังหวัดกระบี่เป็นเมืองบี่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ปัจจุบันมีประชากรทั้งสิ้น 418,705 คน ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 49 นับถือศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ยังไม่รวมประชากรที่ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดใกล้เคียงและ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และนิยมใช้ภาษาใต้เป็นภาษาท้องถิ่นในการติดต่อสื่อสาร แต่ขณะเดียวกันด้านการศึกษาของจังหวัดกระบี่นั้นมีนักเรียนผู้สำเร็จหการศึกษษในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ไม่ต่ำกว่า 2,000 คนต่อปี และในปีการศึกษา 2552 มีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 จำนวน 2,153 คน
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า และส่วนหนึ่งจากผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเอกชนสนศาสนาอิสลาม ซึ่งในอดีตจะเดินทางไปศึกษาต่อในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ยะลา ปัตตานี แต่ภายหลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จึงทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งซึ่งอยู่ในฐานะดีได้ไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ส่วนคนที่มีฐานะรองลงมาก็ศึกษาตามีตามเกิด หรือบางคนก็ต้องหยุดเรียนเพื่ออกมาทำงาน
ดังนั้นเพื่อเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาสำหรับเยาวชนในท้องถิ่น และในกลุ่มจังหวัดใกล้เคียง และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สร้างความปึกแผ่นละสามัคคีในท้องถิ่น ลดปัญหาการหลั่งไหลของคนเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ทางผู้บริหารสถาบันการศึกษา และภาคเอกชนภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ มีความต้องการที่จะให้มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในจังหวัดฝั่งอันดามัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอันดามัน โดยจะใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยอันดามัน
ซึ่งได้มีการศึกษากันมาระยะหนึ่งแล้วโดยจะมีการหลอมรวมสถาบันการศึกษาที่มีอยู่ เช่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกระบี่ วิทยาลัยพลศึกษาวิทยาเขตกระบี่ โดยจะเน้นวิชาการที่สอดคล้องกับสภาเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่เป็นหลัง เช่น หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการต่อเรือ และเครื่องกลเรือ โดยรับนักศึกษาเฉพาะ 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 29 มกราคม 2553 ณ.ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกระบี่ ต.ห้วยยูง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ โทร 075-666085-7
present by tony report
นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวถึงการเปิดโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอันดามัน ในจังหวัดกระบี่ว่า เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนในจังหวัดฝั่งอันดามันและใกล้เคียง และ จังหวัดกระบี่เป็นเมืองบี่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ปัจจุบันมีประชากรทั้งสิ้น 418,705 คน ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 49 นับถือศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ยังไม่รวมประชากรที่ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดใกล้เคียงและ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และนิยมใช้ภาษาใต้เป็นภาษาท้องถิ่นในการติดต่อสื่อสาร แต่ขณะเดียวกันด้านการศึกษาของจังหวัดกระบี่นั้นมีนักเรียนผู้สำเร็จหการศึกษษในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ไม่ต่ำกว่า 2,000 คนต่อปี และในปีการศึกษา 2552 มีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 จำนวน 2,153 คน
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า และส่วนหนึ่งจากผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเอกชนสนศาสนาอิสลาม ซึ่งในอดีตจะเดินทางไปศึกษาต่อในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ยะลา ปัตตานี แต่ภายหลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จึงทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งซึ่งอยู่ในฐานะดีได้ไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ส่วนคนที่มีฐานะรองลงมาก็ศึกษาตามีตามเกิด หรือบางคนก็ต้องหยุดเรียนเพื่ออกมาทำงาน
ดังนั้นเพื่อเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาสำหรับเยาวชนในท้องถิ่น และในกลุ่มจังหวัดใกล้เคียง และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สร้างความปึกแผ่นละสามัคคีในท้องถิ่น ลดปัญหาการหลั่งไหลของคนเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ทางผู้บริหารสถาบันการศึกษา และภาคเอกชนภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ มีความต้องการที่จะให้มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในจังหวัดฝั่งอันดามัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอันดามัน โดยจะใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยอันดามัน
ซึ่งได้มีการศึกษากันมาระยะหนึ่งแล้วโดยจะมีการหลอมรวมสถาบันการศึกษาที่มีอยู่ เช่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกระบี่ วิทยาลัยพลศึกษาวิทยาเขตกระบี่ โดยจะเน้นวิชาการที่สอดคล้องกับสภาเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่เป็นหลัง เช่น หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการต่อเรือ และเครื่องกลเรือ โดยรับนักศึกษาเฉพาะ 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 29 มกราคม 2553 ณ.ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกระบี่ ต.ห้วยยูง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ โทร 075-666085-7
present by tony report
วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้เริ่มก่อตั้งที่ตำบล รูสมิแลอำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี เมื่อปีพ.ศ.2509 ในระยะแรกใช้ชื่อว่า"มหาวิทยาลัยภาคใต้" (UNIVERSITY OF SOUTHERN THAILAND) ต่อมาในเดือนกันยายน 2510 มหาวิทยาลัยฯได้รับพระราชทานชื่อว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PRINCE OFSONGKLAUNIVERSITY) ตามพระนามฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระบรมราชชนกเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวง สงขลานครินทร์ในวันที่12 มีนาคม 2511 ได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศใช้ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัย จึงกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้กำหนดเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาภาคใต้ ตามแผน พัฒนาการศึกษาอันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุขและเสมอภาคของประชาชนและเพื่อเป็นแหล่ง บริการ วิชาการชุมชน ทั้งในชนบทและในเมือง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้กำหนดเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาภาคใต้ ตามแผน พัฒนาการศึกษาอันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุขและเสมอภาคของประชาชนและเพื่อเป็นแหล่ง บริการ วิชาการชุมชน ทั้งในชนบทและในเมือง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)