วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

"หอศิลป์ร่วมสมัย" จังหวัดกระบี่

ที่มาของการจัดสร้างหอศิลป์ร่วมสมัยจังหวัดกระบี่
กระบี่ของเราเป็นเมืองแห่งเรื่องราว และประวัติศาสตร์สำคัญมากมาย เมืองของเรามีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้หลากหลาย จุดเด่นตรงนี้ทำให้ผมเกิดแนวคิดขึ้นมาว่าเราควรที่จะดำเนินการจัดสร้างหอศิลป์ร่วมสมัยของจังหวัดกระบี่ขึ้น เพื่อให้บรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศได้รับรู้ว่ากระบี่ของเราไม่ใช่เสน่ห์แค่การท่องเที่ยวเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ก็ได้มีหลายส่วนงานให้การสนับสนุนประกอบกับวัดแก้วโกรวารามมีอุโบสถงามอยู่ 1 หลัง แต่ชำรุดมากก็เลยให้อาจารย์กิติพงศ์ออกแบบ งบประมาณแก้ไขอยู่ที่ 3 ล้าน ซึ่งตรงนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ท่านได้ให้การสนับสนุนงบประมาณให้กับกรมโยธาธิการไปพิจารณา แต่เมื่อดูแบบแล้วเห็นว่าต้องรื้ออุโบสถก็เท่ากับสร้างใหม่ซึ่งจะทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะสถานที่แห่งนี้บรรพบุรุษเราได้สร้างของทุกชิ้นมีความศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นความพอดีที่ทางเจ้าอาวาสได้อนุมัติอาคารอุโบสถหลังใหม่ให้เป็นหอศิลป์

งบประมาณในการดูแล
ส่วนนี้เรียนว่ามูลนิธิคุณพ่อศรีผ่อง – คุณแม่กี่ ภูเก้าล้วน ได้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุนจำนวน 1 ล้านบาท ทั้งให้จัดทำหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวมอบให้หอศิลป์ร่วมสมัยฯ อีกทั้งในวันเปิดงานเราได้รับความอนุเคราะห์จากศิลปินแห่งชาติทั่วประเทศมาร่วมงานอีกด้วย ซึ่งทางศิลปินก็ได้วาดภาพประกอบดนตรีบรรเลง เพื่อนำภาพมาเข้าร่วมประมูลเพื่อหารายได้เข้ากองทุน เพื่อการใช้จ่ายของหอศิลป์ ซึ่งการประมูลในครั้งนี้ทำให้หอศิลป์ได้รับเงินจากการประมูลเป็นจำนวน 500,000 บาท


Tony Report : สำนักงานเทศบาลเมืองกระบี่
ร่วมสร้างสรรค์และอนุรักษ์บ้านเกิดให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน

"ประติมากรรมปูดำ" จังหวัดกระบี่

ปรับปรุงท่าเทียบเรือขนาบน้ำ และสร้างประติมากรรมปูดำ โดย "เทศบาลเมืองกระบี่"
โครงการก่อสร้างท่าเรือ ปรับปรุงท่าเทียบเรือขนาบน้ำและสร้างประติมากรรมปูดำ เป็นโครงการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองกระบี่ และเป็นที่เชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น เขาขนาบน้ำ ป่าชายเลน กระชังเลี้ยงปลา และวิถีชีวิตของชาวบ้านเกาะกลาง ใช้งบประมาณปี 2552 ก่อสร้างเป็นเงิน 3,199,000 บาท ที่ท่าเรือแห่งนี้ได้สร้างประติมากรรมปูดำ และนกอินทรีทะเล (นกออก) ไว้ด้วย เป็นการเล่าเรื่องราวทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเมืองกระบี่ในอดีต บริษัทไอโดรแกรนท์ จำกัด เป็นผู้ก่อสร้าง ระหว่างวันที่ 9 เม.ย. – 4 ธ.ค. 52 เป็นเวลา 240 วัน ตรวจสอบ ณ วันที่ 5 พ.ย. 52 ก่อสร้างไปได้ 80 %

ขั้นตอนการก่อสร้างปติมากรรมปูดำ ณ ท่าเทียบเรือขนาบน้ำ


พิธีเป็นพร้อมดารานักแสดง "เวียร์-แพนเค้ก" เข้าร่วม


Tony Report : สำนักงานเทศบาลเมืองกระบี่
http://www.krabicity.go.th/

"ท่าเทียบเรือพิเศษ Krabi River Marina"

โครงการก่อสร้างท่าเรือ กระบี่ ริเวอร์ มาริน่า เป็นโครงการที่ดำเนินการและใช้งบประมาณปี 2552 ก่อสร้างในแม่น้ำกระบี่ บริเวณหน้าลานน้ำพุ สวนสาธารณะธารา โดย หจก.ไทยวอเตอร์คร๊าฟท์ ระหว่างวันที่ 16 ก.ค. 52 – 11 พ.ค. 53 เป็นเวลา 300 วัน งบประมาณ 42 ล้าน ตรวจสอบ ณ วันที่ 5 พ.ย. 52 ก่อสร้างไปได้ 30 %



Tony Report : สำนักงานเทศบาลเมืองกระบี่
http://www.krabicity.go.th

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Fan club "Krabi Football Club"

Logo of KrabiFC "The Andaman Eagle"

Logo สวยงามมากครับ
ความเป็นมาเกิดการรวมตัวของกลุ่มคนที่รักฟุตบอลทีมบ้านเกิดของชาวจังหวัดกระบี่ ก่อตั้งมาพร้อมๆ กับการก่อตั้งสโมสร ซึ่งระยะเวลาก็มากกว่า 2 ปีมาก่อน

บ้านของกระบี่เอฟซี...ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่สนามกีฬากลางจังหวัดกระบี่ภายในสถาบันการพละศึกษา วิทยาเขตกระบี่

หรือทางเว็บไซต์ของสโมสร
http://www.krabifc.com
ที่สำคัญมีเว็บบอร์ดให้เราได้สนทนากันด้วยนะครับ

ส่วนแผนการทำทีมนั้นเริ่มมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ งบประมาณในการทำทีมในแต่ละปีนั้นค่อนข้างที่จะน้อย หากท่านใดต้องการอุ้มชูสโมสรให้เกิดความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปก็เชิญติดต่อได้ ณ ที่ทำการของสโมสรนะคาบบบบบ

พี่น้องชาวจังหวัดกระบี่อย่าลืมนะคาบบบ....กระบี่เอฟซี...ลงสนามเป็นทีมเหย้าเมื่อไหร่..มาให้กำลังใจกันได้ ณ สนามกีฬากลางจังหวัดกระบี่นะคาบบบ

Tony Report : KrabiFC

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

"Rajamangala National Stadium" สนามราชมังคลากีฬาสถาน

"Rajamangala Nationl Stadium"
ที่ตั้ง : สนามกีฬาหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เปิด ปี : 2541
เจ้าของ : การกีฬาแห่งประเทศไทย (Sport of Thailand.)
พื้นสนามเป็นหญ้า
สถาปนิกออกแบบสนาม : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (University of Chulalongkorn)
ความจุของสนาม : 49,749
ประวัติการใช้งาน :
ฟุตบอลทีมชาติไทย
เอเชียนเกมส์ 1998
2004 FIFA U-19 Women's World Cup
กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007
2000 Thailand National Games
และงานพิเศษต่างๆ อาทิ คอนเสิร์ต ฯลฯ

"Buriram PEA"


สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์-การไฟฟ้าฯ
เป็นสโมสรใหม่ที่เปลี่ยนแปลงมาจากสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 โดยดร.วีระ ปิตรชาติ มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานได้ออกกำลังกายและสร้างความสามัคคีร่วมกันในหมู่คณะ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง. โดยลงเล่น3ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นในถ้วย ค. และลงเล่นอยู่ 2 ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นถ้วย ข. และอีก2 ฤดูกาลสโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในดิวิชั่น 1ได้สำเร็จ

ปี 2547 ได้เลื่อนขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุด เมื่อได้รองแชมป์ดิวิชั่น และได้เล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2548 โดยฤดูกาลแรกในลีกสูงสุดสโมสรสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมเมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ และศุภกิจ จินะใจ กองหน้าของทีมคว้าตำแหน่งดาวซัลโวร่วมกับศรายุทธ ชัยคำดี ดาวยิงของทีมการท่าเรือ ที่จำนวน10ประตู และได้สิทธิ์เล่นเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในปี 2549

ปี 2551 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของประพล พงษ์พานิช และได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือก ปี 2552 แต่ก็ตกรอบคัดเลือกเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกทำให้ไม่สามารถเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มได้ และมีผลงานในลีกไม่ดีนัก สโมสรจึงได้เปลี่ยนตัวกุนซือในเดือนพฤษภาคม ปี 2552 จากประพล พงษ์พานิช เป็น ทองสุข สัมปหังสิต อดีตกุนซือทีมชาติไทยชุดแชมป์ซีเกมส์ ที่นครราชสีมา

ภายหลังฤดูกาล 2552 ซึ่งทีมมีผลงานจบในอันดับที่ 9 ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น บุรีรัมย์-การไฟฟ้าฯ นอกจากนั้นยังได้ดึงตัว พงษ์พันธ์ วงศ์สุวรรณ กุนซือของทีโอที มาทำหน้าที่ผู้อำนวยการสโมสร และธนเดช ฟูประเสริฐ เป็นหัวหน้าสต๊าฟโค้ช

แผนการพัฒนาสนาม....


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.burirampea.com
Tony Report : รายงาน

"Andaman eagle" KrabiFC


ชื่อนามฉายา : คือสโมสรฟุตบอลกระบี่
ฉายา : อินทรีย์อันดามัน
ก่อตั้งเมื่อปี : 2552
บ้านที่ใช้ทำการแข่งขัน : สนามกีฬากลางจังหวัดกระบี่
ความจุ : 6,000 ที่ั่นั่ง
ลีกที่ทำการแข่งขันในขณะนี้ : ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ภาคใต้

ทีม "อินทรีอันดามัน" กระบี่ เอฟซี ซึ่งฤดูกาล 2009 จบด้วยอันดับที่ 5 ของตารางกลุ่มภาคใต้ ฤดูกาลใหม่ พวกเขามีการปรับทัพกันไม่น้อยไปกว่าเพื่อนร่วมลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมของสนามแข่งขัน ทีมกระบี่ เอฟซี ที่มี สมเกียรติ กิตติธรกุล เป็นผู้จัดการทีม ชัยรัตน์ สิทธิกุล เป็นหัวหน้าสตาฟฟ์โค้ช และ ณัฐวัตร รักษากิจ เป็นผู้ช่วย พยายามปรับปรุงเตรียมความพร้อมอย่างดีที่สุด

สำหรับทีมอินทรีย์อันดามัน ใช้สนามกีฬากลางจังหวัดกระบี่เป็นสนามเหย้า ตั้งอยู่บนถนนสายหลัก หมายเลข 4 (เพชรเกษม) โดยมีบรรยากาศอันสวยงามที่อ้อมล้อมด้วยธรรมชาติของหุบเขา...ห่างออกไปจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร...แต่ก็ยังมีรถประจำทางวิ่งผ่านตลอด

บรรยากาศและสภาพความพร้อมของสนามกีฬากลางกระบี่ พร้อมแล้วกับการรองรับการแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 กลุ่มภาคใต้ (สนามแห่งนี้เคยได้รับเกียรติให้จัดการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษาแห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่ากระบี่เกมส์มาแล้วหนึ่ง ครั้ง)

ความพร้อมด้านอื่นๆ..ของสนาม เรื่องไฟสนามนั้นไม่ต้องห่วงอยู่แล้วคาบบบบ



สุดท้ายนี้ทีมสโมสรฟุตบอลในเมืองไทย ของแต่ละระดับการแข่งขันจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยแรงกายและแรงใจจากพี่น้องในชาติทุกคน....ร่วมกันสร้างทีมฟุตบอลของชาติให้แข็งแกร่งกับรากฐานที่มั่นคงอย่างลีกของไทยกันเถอะครับ

Tony Report : รายงาน

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

"เมืองทองหนอกจอกยูไนเต็ด" ประวัติอันน่าสนใจ

ประวัติสโมสร

ยุคแรก (โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์)
บุคคลที่เป็นผุ้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ขึ้นมาไม่ใช่ใครเป็นนายวรวีร์ มะกูดี ซึ่งปัจจุบันเป็นนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นั่นเองโดยเป็นการก่อตั้งหลังจากทีมโรงเรียนศาสนวิทยา หรือทีมบีอีซี เทโรศาสน ในปัจจุบันแค่เพียง 3 ปีเท่านั้น ชื่อแรกที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสมาคมฟุตบอลฯหาใช่เป็นเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด เช่นทุกวันนี้ไม่ แต่เป็นชื่อทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ ย่างก้าวแรกก่อนจะมาถึงจุดสูงสุด ณ วันนี้ได้นั้น ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ เริ่มไต่เต้าจากถ้วยเล็กสุดอย่างถ้วยพระราชทานประเภท ง มาก่อน กาลเวลาล่วงเลยผ่านไปพร้อมกับการผ่องถ่ายเปลี่ยนมือคนที่เข้ามาสร้างทีมยุคสู่ยุคหลายต่อหลายคนเคยมีโอกาสได้เข้ามาทำทีม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ กระทั่งในการแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชั่น1 ฤดูกาล 2545-2546 ทีม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหนแรกเป็น สโมสรฟุตบอลไข่มุกดำหนองจอก โดยได้นายหัว วีระ มุสิกพงศ์ อดีตนักการเมืองดังเข้ามาเทกโอเวอร์ทำทีมแต่แค่ฤดูกาลเดียวเมื่อไม่ประสบความสำเร็จนายหัว วีระ ก็เลิกลาไปโดยที่ทีมยังคงอยู่ในลีกดิวิชั่น1 ต่อไป

เข้าสู่ระบบลีก..อย่างเต็มตัว...พร้อมการเปลี่ยนชื่อสโมสรอีกครั้ง (เส้นทางที่จุดประกายความเป็นดาวอย่างแท้จริง)
ฤดูกาลต่อมาของลีกดิวิชั่น1 2546-2547 ทีมเปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามกลุ่มที่เข้าเทกโอเวอร์รับทำทีมต่อก้คือ สโมสรฟุตบอล หลักทรัพย์โกล์เบล็ค หนองจอก โดยมีโค้ชหลอ สมศักดิ์ เซ็นเชาวนิช เป็นกุนซือแต่ปีนั้นทีมทำผลงานได้ย่ำแย่จนสุดท้ายก็ต้องตกชั้นไปเล่นในถ้วยพระราชทานประเถท ข ในฤดูกาล 2547-2548 โดยกลับไปใช้ชื่อเดิม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จุดเริ่มต้นจริงๆก่อนจะมายิ่งใหญ่เช่นทุกวันนี้นั้นน่าจะเป็นเพราะสมาคมฟุตบอลฯต้องการยกระดับลีกการแข่งขันในประเทศของไทยให้เป็นสากลมากขึ้นจึงก่อตั้งลีกดิวิชั่น2 ขึ้นมาโดยนำทีมจากถ้วยพระราชทาน ข และ ค มาผสมรวมกันเพื่อแข่งขันในลีกนี้ในฤดูกาล 2549-2550 ซึ่งแน่นอนว่า ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันด้วยและปีนั้นกับลีกดิวิชั่น2 ของไทยครั้งแรกชื่อทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ก็ปรากฏขึ้นมาโดยผู้สนับสนุนทีมคือ นายระวิ โหลทอง ที่รับตำแหน่งประธานสโมสรด้วยตนเอง ใครก็รู้ดีว่านายใหญ่ของค่ายสยามสปอร์ต ผู้นี้ที่เป็นเจ้าพ่อสื่อกีฬาในปัจจุบันนั้นพิสมัยเกมลูกหนังขนาดไหนด้วยใจรักจึงอยากจะมีทีมฟุตบอลของตัวเองขึ้นมาสักทีมเพื่อหวังทำให้ประสบความสำเร็จเหมือนที่เคยทำหนังสือพิมพ์กีฬาให้โด่งดังมาแล้ว

ยุคเริ่มต้นแห่งความสำเร็จ
ปีนั้นทีมใช้บริการกุนซืออย่าง นพพร เอกศาสตรา คุมทีมโดยมี มร.โรเบิร์ต โปรคูเรอร์ เป็นผจก.ทีมและสุดท้ายปีนั้นชื่อทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ก็ได้รับการจารึกว่าเป็นเจ้าของแชมป์ลีกดิวิชั่น2 ครั้งแรกพร้อมได้สิทธิ์ก้าวไปเล่นลีดดิวิชั่น1 ในปี พ.ศ. 2551 ได้สำเร็จ ความสำเร็จจากแชมป์ลีกดิวิชั่น2 จุดประกายฝันให้ทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด เดินหน้าต่อในลีกดิวิชั่น1 ที่เขี้ยวและหินกว่าลีกดิวิชั่น2 เยอะแต่สุดท้ายทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ก็ทำได้เมื่อกุนซืออย่าง โค้ชหมี สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ สามารถพาทีมคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่น1 ประจำปี 2551 มาครอบครองได้สำเร็จ พร้อมตั๋วขึ้นชั้นมาเล่นไทยพรีเมียรืลีก2009 หรือไทยลีก ครั้งที่ 13 ได้สำเร็จ ไทยพรีเมียรืลีก2009 อันเป็นครั้งแรกของทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด หรือทีม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ เดิม ได้ขึ้นมาเล่นลีกสูงสุดของประเทศได้เป็นครั้งแรกนับจากก่อตั้งสโมสรมา 20 ปีนั้น สุดท้ายประวัติศาสตร์ของวงการลูกหนังไทยก็ต้องจารึกอีกครั้งเป็นตำนานบทใหม่ว่าเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด นั้นเป็นทีมแรกที่สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกของไทยไล่จากลีกดิวิชั่น2,ดิวิชั่น1 จนถึงลีกสูงสุดของไทยอย่าง ไทยพรีเมียร์ลีก แบบใช้เวลา 3ปี ถ้วยต่อถ้วยได้สำเร็จเป็นทีมแรกที่ยังไม่เคยมีสโมสรไหนทำได้มาก่อนนับแต่ที่ลีกลูกหนังไทยปรับโฉมมาเป็นลีกดิวิชั่น2,1 และไทยพรีเมียร์ลีก จากเดิมที่เป็นถ้วยง,ค,ข และลีกดิวิชั่น1 ก่อนถึงไทยลีกเท่านั้น


สนามเหย้า
สโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด ใช้สนามยามาฮ่า สเตเดี้ยมเป็นสนามเหย้า โดยสนามแห่งนี้อยู่หลังอาคารชาเลนเจอร์ เป็นพื้นที่โล่งใกล้กับทางขึ้นลงทางด่วนพิเศษ ไปได้ทุกที่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ติดกับธันเดอร์โดมที่ใช้จัดคอนเสิร์ตในเรียลลิตี้ โชว์ชื่อดัง “เอเอฟ” หรืออะคาเดมี่ แฟนเทเชีย

สำหรับสนามยามาฮ่า สเตเดี้ยม นั้นปัจจุบันมีความจุโดยประมาณ 15,000 ที่นั่ง และเมื่อต่อเติมและปรับปรุงเสร็จจะมีความจุรวมเพิ่มเป็น 20,000 ที่นั่ง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกทั้ง 2 ฝั่งอัฒจรรย์, ห้อง VIP รอบสนาม, ห้องสื่อมวลชน, ร้านอาหาร, พลาซ่า, จูเนียร์ช็อป, พิพิธภัณฑ์สโมสร ฯลฯ นอกจากนี้สโมสร ยังเปิดโอกาสให้สโมสรอื่นๆ ทั้งในระดับไทยลีกและดิวิชั่นต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาระบบการจัดการของสโมสรเพื่อพัฒนาลีกอาชีพของไทยให้ก้าวไปสู่ ความเป็นสากลต่อไป

ทีมจาก : สยามประเทศก็มีความเจริญได้คาบบ
Tony Report : รายงาน

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

"Yamaha stadium" บ้านทีมเมืองทองฯ

By tony report

tonyreport.blogspot.com

Yamaha Stadium หรือว่า สนามธันเดอร์โดม เมืองทองธานี เป็นสนามรังเหย้าของทีมชื่อดัง "เมืองทองยูไนเต็ด" ยอดทีมจากประเทศไทย โดยผลงานอันสุดยอดด้วย การทำทีม 3 ปีได้แชมป์มาครองให้ชื่นใจผู้บริหารถึง3 แชมป์...ได้ฟังแล้วก็ร้อนๆ หนาวๆ สำหรับทีมชั้นนำในเอเชียนะครับ...ไม่เร่งพัฒนาต้องโดน "กิเลนผยอง" จากแดนสยามเมืองยิ้มกัดกัดคอ กัดลำตัวย่ำแย่แน่...

ในลีกของเมืองประจำฤดูกาล 2009 จบด้วยอันดับ 1 ได้สิทธิ์ไป เอเอฟซี แชมเปี้ยนลีก แต่ไม่ผ่านรอบคัดเลือกต้องร่วงมาเล่น ในถ้วยรองลงมา นั่นก็คือ "เอเอฟซีคัพ"

เมืองทองฯ และสิงห์เจ้าท่าอันดับโลกพุ่งกระฉูด

ผลงานดีต่อเนื่อง ทีม "กิเลนผยอง" เมืองทอง ฯ ยูไนเต็ด ควง "สิงห์เจ้าท่า" การท่าเรือไทย เอฟซี ขึ้นมาติดใน 350 อันดับแรกของโลก เป็นครั้งแรกของสโมสร จากการจัดของสหพันธ์ประวัติศาสตร์ และสถิติฟุตบอลนานาชาติ "IFFHS" โดยทีม เมืองทองฯ อยู่ที่ 227 ของโลก เป็นที่ 24 ของเอเชีย ส่วน การท่าเรือฯ กระโดดขึ้นมาอยู่ที่ 235 ของโลก และที่ 26 ของเอเชีย

การจัดอันดับสโมสรโลกครั้ง ล่าสุดของสหพันธ์ประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอลนานาชาติ (IFFHS) ที่คิดคะแนนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2010 ได้มีการประกาศ 350 อันดับแรก ซึ่งสองสโมสรจากประเทศไทย "กิเลนผยอง" เมืองทองฯ ยูไนเต็ด และ "สิงห์เจ้าท่า" การท่าเรือไทย เอฟซี อันดับโลกยังขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ในการจัดอันดับครั้งก่อน เมื่อเดือนเมษายนทั้งสองทีมนี้ ต่างก็เข้ามาอยู่ 350 อันดับแรก เป็นครั้งแรกตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร

ล่าสุด เมืองทอง ยูไนเต็ด อยู่ที่ 227 ของโลก ขยับจากอันดับ 439 และ 245 จากการจัดอันดับสองครั้งก่อนหน้านี้ เป็นอันดับที่ 24 ของเอเชีย มี 81.5 คะแนน ส่วน การท่าเรือไทย เอฟซี กระโดดขึ้นมาอยู่ที่ 235 จาก 311 เป็นอันดับที่ 26 ของเอเชีย มี 80.5 คะแนน นับเป็นอันดับที่ดีที่สุด ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรของทั้งสองทีม.....

Tony Report : รายงาน

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

23 ขุนพลของอังกฤษ ที่จะลุยศึก "FIFA World Cup 2010"

Fabio Capello ( ฟาบิโอ คาเปลโล่ ) : ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ ประกาศรายชื่อ นักเตะ 23 คนที่จะลุยศึกฟุตบอลโลก 2010

ผู้รักษาประตู : เดวิด เจมส์ (พอร์ทสมัธ), โรเบิร์ต กรีน (เวสต์แฮม ยูไนเต็ด), โจ ฮาร์ท (แมนเชสเตอร์ ซิตี้)

กองหลัง : แอชลี่ย์ โคล (เชลซี), จอห์น เทอร์รี่ (เชลซี), ริโอ เฟอร์ดินานด์ (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด), เกล็น จอห์นสัน (ลิเวอร์พูล), เล็ดลี่ย์ คิง (ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์), เจมี่ คาร์ราเกอร์ (ลิเวอร์พูล), แมทธิว อัพสัน (เวสต์แฮม ยูไนเต็ด),สตีเฟ่น วอร์น็อค (แอสตัน วิลล่า)

กองกลาง : สตีเว่น เจอร์ราร์ด (ลิเวอร์พูล), แฟร้งค์ แลมพาร์ด (เชลซี), ไมเคิ่ล คาร์ริค (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด), เจมส์ มิลเนอร์ (แอสตัน วิลล่า), แกเร็ธ แบร์รี่ (แมนเชสเตอร์ ซิตี้), โจโคล (เชลซี) อารอน เลนน่อน (ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์), ฌอน ไรท์-ฟิลลิปส์ (แมนเชสเตอร์ ซิตี้)

กองหน้า : เวย์น รูนี่ย์ (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด), ปีเตอร์ เคร้าช์ (ท็อตแน่มฮ็อทสเปอร์), เอมิล เฮสกี้ (แอสตัน วิลล่า), เจอร์เมน เดโฟ (ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์)

Tony Report : รายงาน

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สนามที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 (แอฟริกาใต้)

ทางประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2010 ตัวแทนจากทวีีีปแอฟริกาใต้ได้มีการจัดเตรียมสนามที่ใช้ในการจัดการแข่งขันถึง 10 สนามจาก 9 เมืองทั่วประเทศ

สนามซอคเกอร์ ซิตี้
สนาม ซอคเก้อร์ ซิตี้ ตั้งอยู่ในเมืองโยฮันเนสเบิร์ก เป็นสนามที่สามารถจุผู้ชมได้มากถึง 88,460 คน ด้วยความที่มีขนาดใหญ่และมีความสวยงามมากในยามค่ำคืน สนามฟุตบอลแห่งนี้จึงได้รับขนานนามให้เป็นสนามที่หรูหราที่สุดในทวีปแอฟริกา

ซอคเก้อร์ ซิตี้ สร้างบนพื้นที่เก่าของเอฟเอ็นบี สเตเดี้ยม สนามแห่งนี้ถูกใช้ในนัดเปิดสนามและชิงชนะเลิศของศึกเวิลด์ คัพ 2010 ตัวสนามออกแบบด้วยแรงจูงใจจากภาชนะแอฟริกันชื่อ ''คาลาบาช''

รายชื่อทีมที่ใช้สนาม ซอคเก้อร์ ซิตี้ แข่งขันฟุตบอลโลก 2010
11 มิ.ย. แอฟริกาใต้ - เม็กซิโก (เปิดสนาม)
14 มิ.ย. ฮอลแลนด์ - เดนมาร์ก
17 มิ.ย. อาร์เจนตินา - เกาหลีใต้
20 มิ.ย. บราซิล - โกตอิวัวร์
23 มิ.ย. กานา - เยอรมนี
27 มิ.ย. รอบ 16 ทีม
2 ก.ค. รอบก่อนรองชนะเลิศ
11 ก.ค. รอบชิงชนะเลิศ

เดอร์บัน สเตเดี้ยม
เดอร์บัน สเตเดี้ยม หรือ ‘โมเซส มาบิดา สเตเดี้ยม’ตั้งอยู่ในเมืองเดอร์บัน เป็นสนามขนาดใหญ่ที่สามารถจุผู้ชมได้มากถึง 70,000 คน นับว่าเป็นสนามแข่งขันสุดเพอร์เฟกต์ระดับ ‘เวิลด์คลาส’ ภายในยังมีศูนย์บริการที่ครบวงจร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆมากมาย

เดอร์บัน สเตเดี้ยม เป็นสนามที่ถูกสร้างขึ้นใหม่จากพื้นที่เดิมของ ‘คิงส์ พาร์ค ซอคเก้อร์ สเตเดี้ยม’ สนามแห่งนี้ถูกออกแบบด้วยแรงบันดาลใจให้คล้ายคลึงกับธงชาติแอฟริกาใต้ ซึ่งมีการใช้โครง 2 เส้นลากมาบรรจบกันจากทิศใต้สู่ฝั่งเหนือครอบคลุมตัวสนามให้มีลักษณะเหมือนลายธงชาติเวลามองจากด้านบนนั่นเอง

รายชื่อทีมที่ใช้สนาม เดอร์บัน สเตเดี้ยม แข่งขันฟุตบอลโลก 2010
13-06-10 เยอรมัน - ออสเตรเลีย รอบแรก กลุ่ม ดี
16-06-10 สเปน - สวิตเซอร์แลนด์ รอบแรก กลุ่ม เอช
19-06-10 ฮอลแลนด์ - ญี่ปุ่น รอบแรก กลุ่ม อี
22-06-10 ไนจีเรีย - เกาหลีใต้ รอบแรก กลุ่ม บี
25-06-10 โปรตุเกส - บราซิล รอบแรก กลุ่ม จี
28-06-10 แชมป์กลุ่ม อี - รองแชมป์กลุ่ม เอฟ รอบ 16 ทีม
07-07-10 ผู้ชนะเลิศนัดที่ 59 - ผู้ชนะเลิศนัดที่ 60 รอบรองชนะเลิศ

รอยัล บาโฟเคง สเตเดี้ยม
รอยัล บาโฟเคง สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในเมืองรัสเทนเบิร์ก นับว่าเป็นอีกสนามที่ผ่านการจัดการแข่งขันแมตซ์สำคัญๆมามากพอสมควร สนามแห่งนี้สามารถจุผู้ชมได้ถึง 42,000 คน

รอยัล บาโฟเคง สเตเดี้ยม ได้มีการบูรณะเพิ่มเติมไม่มากนัก เนื่องจากของเดิมค่อนข้างดีอยู่แล้ว ภายในสนามได้มีการตกแต่งภายในสนามให้ดูเรียบร้อยสะอาดตา และให้มีความพร้อมสำหรับการต้อนรับแฟนบอลที่จะหลั่งไหลมาเยือนสนามแห่งนี้จำนวนมาก

รายชื่อทีมที่ใช้สนาม รอยัล บาโฟเคง สเตเดี้ยม แข่งขันฟุตบอลโลก 2010
12-06-10 อังกฤษ - สหรัฐอเมริกา รอบแรก กลุ่มซี
15-06-10 นิวซีแลนด์ - สโลวาเกีย รอบแรก กลุ่มเอฟ
19-06-10 กานา - ออสเตรเลีย รอบแรก กลุ่มดี
22-06-10 เม็กซิโก - อุรุกวัย รอบแรก กลุ่มเอ
24-06-10 เดนมาร์ก - ญี่ปุ่น รอบแรก กลุ่มอี
26-06-10 แชมป์กลุ่ม ซี - รองแชมป์กลุ่ม ดี รอบ 16 ทีม

กรีน พอยท์ สเตเดี้ยม
กรีน พอยท์ สเตเดี้ยม หรือ เคปทาวน์ สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในกรุงเคป ทาวน์ เมืองสวรรค์อันสวยงามของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ด้วยตัวสนามตั้งอยู่ใกล้ภูเขา เทเบิ้ล เมาน์เท่น กับ ชายฝั่ง ร็อบเบน ไอส์แลนด์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อของเมืองเคป ทาวน์ โดยสนามแห่งนี้สามารถจุผู้เข้าชมได้ถึง 68,000 คน

กรีน พอยท์ สเตเดี้ยม ได้ารับการอนุมัติจากสภาเมืองเคป ทาวน์ โดยให้ทำการบูรณะสนามแห่งนี้เสียใหม่ ด้วยงบประมาณที่มากมายมหาศาล สนามแห่งนี้จึงกลายเป็นสนามที่มีความทันสมัยสามารถรองรับคนได้เป็นจำนวนมากนั่นเอง นอกจากนั้นสนามแห่งนี้ยังได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เคปทาวน์ สเตเดี้ยม อีกด้วย

รายชื่อทีมที่ใช้สนาม กรีน พอยท์ สเตเดี้ยม แข่งขันฟุตบอลโลก 2010
11-06-10 อุรกวัย - ฝรั่งเศส รอบแรก กลุ่มเอ
14-06-10 อิตาลี - ารากวัย รอบแรก กลุ่มเอฟ
18-06-10 อังกฤษ - แอลจีเรีย รอบแรก กลุ่มซี
21-06-10 โปรตุเกส - เกาหลีเหนือ รอบแรก กลุ่มจี
24-06-10 แคเมอรูน - ฮอลแลนด์ รอบแรก กลุ่มอี
29-06-10 แชมป์กลุ่มเอช - รองแชมป์กลุ่มจี รอบ 16 ทีม
03-07-10 ผู้ชนะเลิศนัดที่ 52 - ผู้ชนะเลิศนัดที่ 51 รอบก่อนรองชนะเลิศ
06-07-10 ผู้ชนะเลิศนัดที่ 58 - ผู้ชนะเลิศนัดที่ 57 รอบรองชนะเลิศ

เอลลิส พาร์ค สเตเดี้ยม
เอลลิส พาร์ค สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในเมืองโยฮันเนสเบิร์ก เป็นสนามที่ได้รับโอกาสสำคัญในการแข่งขันฟุตบอลโลกอีกสนาม สนามแห่งนี้สามารถจุผู้ชมได้ถึง 61,639 คน นับว่าเป็นสถามแข่งจันที่มีประวัติอันยาวนาน สมกับความเก่าแก่เต็มไปด้วยมนต์ขลังอีกด้วย

เอลลิส พาร์ค สเตเดี้ยม ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1928 นับว่าเป็นอีกสนามที่มีการบูรณะต่อเติมเพียงเล็กน้อย เนื่องจากมีการมีการต่อเติมเพียงแค่อัฒจันทร์ทางทิศเหนือเท่านั้น ซึ่งหากให้คะแนนความพร้อมนับว่ายังอยู่ในระดับต้นๆเลยทีเดียว

รายชื่อทีมที่ใช้สนาม เอลลิส พาร์ค สเตเดี้ยม แข่งขันฟุตบอลโลก 2010
12 มิ.ย. อาร์เจนตินา - ไนจีเรีย
15 มิ.ย. บราซิล - เกาหลีเหนือ
18 มิ.ย. สโลวีเนีย - สหรัฐฯ
21 มิ.ย. สเปน - ฮอนดูรัส
24 มิ.ย. สโลวาเกีย - อิตาลี
28 มิ.ย. รอบ 16 ทีม
3 ก.ค. รอบก่อนรองชนะเลิศ

ลอฟตัส เวิร์สเฟลด์ สเตเดี้ยม
ลอฟตัส เวิร์สเฟลด์ สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในเมืองชวาเน่-พริทอเรีย เป็นสนามที่มีการจัดแข่งขันมามากพอสมควร โดยสนามแห่งนี้สามารถรองรับกีฬาได้หลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรักบี้ หรือกีฬาฟุตบอล โดยสนามแห่งนี้สามารถจุผู้ชมได้มากถึง 49,365 คน ซึ่งต่างจากเดิม คือ จำนวน 2,000 คน เท่านั้น

รายชื่อทีมที่ใช้สนาม ลอฟตัส เวิร์สเฟลด์ สเตเดี้ยม แข่งขันฟุตบอลโลก 2010
13 มิ.ย. เซอร์เบีย - กานา
16 มิ.ย. แอฟริกาใต้ - อุรุกวัย
19 มิ.ย. แคเมอรูน - เดนมาร์ก
23 มิ.ย. สหรัฐฯ - แอลจีเรีย
25 มิ.ย. ชิลี - สเปน
29 มิ.ย. รอบ 16 ทีม

ฟรี สเตท สเตเดี้ยม
ฟรี สเตท สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในเมืองมังงางุง-บลูมฟอนเทน เป็นอีกสนามที่มีการจัดการแข่งขันอยู่บ่อยครั้ง โดยสนามแห่งนี้สามารถจุผู้ชมได้ถึง 45,058 คน ซึ่งแต่เดิมสามารถจุผู้ชมได้เพียง 38,000 คนเท่านั้น

รายชื่อทีมที่ใช้สนาม ฟรี สเตท สเตเดี้ยม แข่งขันฟุตบอลโลก 2010
14 มิ.ย. ญี่ปุ่น - แคเมอรูน
17 มิ.ย. กรีซ - ไนจีเรีย
20 มิ.ย. สโลวาเกีย - ปารากวัย
22 มิ.ย. ฝรั่งเศส - แอฟริกาใต้
25 มิ.ย. สวิตเซอร์แลนด์ - ฮอนดูรัส
27 มิ.ย. รอบ 16 ทีม

เนลสัน แมนเดล่า เบย์ สเตเดี้ยม
เนลสัน แมนเดล่า เบย์ สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในเมือง เนลสัน แมนเดล่า เบย์-พอร์ท เอลิซาเบธ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับทะเลสาบนอร์ท เอนด์ เลค สน เป็นสนามที่มีรูปร่างสวยงามมากๆอีกหนึ่งสนาม สนามแห่งนี้สามารถจุผู้ชมได้ถึง 46,082 คน ที่สำคัญคือสนามแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อการแข่งขันในศึกเวิลด์ คัพ โดยเฉพาะอีกด้วย

รายชื่อทีมที่ใช้สนาม เนลสัน แมนเดล่า เบย์ สเตเดี้ยม แข่งขันฟุตบอลโลก 2010
12 มิ.ย. เกาหลีใต้ - กรีซ
15 มิ.ย. โกตดิวัวร์ - โปรตุเกส
18 มิ.ย. เยอรมนี - เซอร์เบีย
21 มิ.ย. ชิลี - สวิตเซอร์แลนด์
23 มิ.ย. สโลวีเนีย - อังกฤษ
26 มิ.ย. รอบ 16 ทีม
2 ก.ค. รอบก่อนรองชนะเลิศ
10 ก.ค. ชิงอันดับ 3

บอมเบล่า สเตเดี้ยม
บอมเบล่า สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในเมืองเนลสปริท นับว่าเป็นอีกหนึ่งสนามที่รายล้อมไปด้วยสถานที่พักผ่อนหย่อนใจมากมาย สนามแห่งนี้สามารถจุผู้ชมได้ถึง 43,589 คน ที่ดูจะโดดเด่นที่สุดก็คงจะเป็น เสาค้ำรูปร่างเหมือนยีราฟ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นที่สะดุดตาต่อผู้มาเยือนอย่างแน่นอน

รายชื่อทีมที่ใช้สนาม บอมเบล่า สเตเดี้ยม แข่งขันฟุตบอลโลก 2010
วันที่ คู่แข่งขัน
16 มิ.ย. ฮอนดูรัส - ชิลี
20 มิ.ย. อิตาลี - นิวซีแลนด์
23 มิ.ย. ออสเตรเลีย - เซอร์เบีย
25 มิ.ย. เกาหลีเหนือ - โกตดิวัวร์

ปีเตอร์ โมคาบา สเตเดี้ยม
ปีเตอร์ โมคาบา สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในเมืองโปล็อกวาเน่ นับว่าเป็นอีกหนึ่งสนามที่มีประวัติความเป็นมาที่ค่อนข้างสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติต่อผู้นำการต่อต้านการเหยียดสีผิวของแอฟริกาใต้ในอดีตนั่นเอง

ปีเตอร์ โมคาบา สเตเดี้ยม เป็นสนามที่สามารถจุผู้ชมได้มากถึง 45,264 คน ได้รับการออกแบบให้มีรูปทรงคล้ายต้นไม้ เนื่องจากมีโครงสร้างทำจากเหล็กค้ำยันส่วนหลังคา รวมทั้งส่วนงวงที่รองรับหลังคาไว้เป็นอย่างดี

รายชื่อทีมที่ใช้สนาม ปีเตอร์ โมคาบา สเตเดี้ยม แข่งขันฟุตบอลโลก 2010
13 มิ.ย. แอลจีเรีย - สโลวีเนีย
17 มิ.ย. ฝรั่งเศส - เม็กซิโก
22 มิ.ย. กรีซ - อาร์เจนตินา
24 มิ.ย. ปารากวัย - นิวซีแลนด์

Tony Report : รายงาน

ตารางการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 รอบแรก (พร้อมเวลาและวันที่)

วันที่ 11 มิถุนายน - เวลา 21:00 แอฟริกาใต้ พบ เม็กซิโก

วันที่ 12 มิถุนายน - เวลา 01:30 อุรุกวัย พบ ฝรั่งเศส

วันที่ 12 มิถุนายน - เวลา 18:30 อาร์เจนตินา พบ ไนจีเรีย

วันที่ 12 มิถุนายน - เวลา 21:00 เกาหลีใต้ พบ กรีซ

วันที่ 13 มิถุนายน - เวลา 01:30 อังกฤษ พบ สหรัฐอเมริกา

วันที่ 13 มิถุนายน - เวลา 18:30 แอลจีเรีย พบ สโลวีเนีย

วันที่ 13 มิถุนายน - เวลา 21:00 เยอรมัน พบ ออสเตรเลีย

วันที่ 14 มิถุนายน - เวลา 01:30 เซอร์เบีย พบ กาน่า

วันที่ 14 มิถุนายน - เวลา 18:30 ฮอลแลนด์ พบ เดนมาร์ก

วันที่ 14 มิถุนายน - เวลา 21:00 ญี่ปุ่น พบ แคเมอรูน

วันที่ 15 มิถุนายน - เวลา 01:30 อิตาลี พบ ปารากวัย

วันที่ 15 มิถุนายน - เวลา 18:30 นิวซีแลนด์ พบ สโลวาเกีย

วันที่ 15 มิถุนายน - เวลา 21:00 ไอวอรี่โคสต์ พบ โปรตุเกส

วันที่ 16 มิถุนายน - เวลา 01:30 บราซิล พบ เกาหลีเหนือ

วันที่ 16 มิถุนายน - เวลา 18:30 ฮอนดูรัส พบ ชิลี

วันที่ 16 มิถุนายน - เวลา 21:00 สเปน พบ สวิตเซอร์แลนด์

วันที่ 17 มิถุนายน - เวลา 01:30 แอฟริกาใต้ พบ อุรุกวัย

วันที่ 17 มิถุนายน - เวลา 18:30 ฝรั่งเศส พบ เม็กซิโก

วันที่ 17 มิถุนายน - เวลา 21:00 กรีซ พบ ไนจีเรีย

วันที่ 18 มิถุนายน - เวลา 01:30 อาร์เจนตินา พบ เกาหลีใต้

วันที่ 18 มิถุนายน - เวลา 18:30 เยอรมัน พบ เซอร์เบีย

วันที่ 18 มิถุนายน - เวลา 21:00 สโลวีเนีย พบ สหรัฐอเมริกา

วันที่ 19 มิถุนายน - เวลา 01:30 อังกฤษ พบ แอลจีเรีย

วันที่ 19 มิถุนายน - เวลา 18:30 กาน่า พบ ออสเตรเลีย

วันที่ 19 มิถุนายน - เวลา 21:00 ฮอลแลนด์ พบ ญี่ปุ่น

วันที่ 20 มิถุนายน - เวลา 01:30 แคเมอรูน พบ เดนมาร์ก

วันที่ 20 มิถุนายน - เวลา 18:30 สโลวาเกีย พบ ปารากวัย

วันที่ 20 มิถุนายน - เวลา 21:00 อิตาลี พบ นิวซีแลนด์

วันที่ 21 มิถุนายน - เวลา 01:30 บราซิล พบ ไอวอรี่โคสต์

วันที่ 21 มิถุนายน - เวลา 18:30 โปรตุเกส พบ เกาหลีเหนือ

วันที่ 21 มิถุนายน - เวลา 21:00 ชิลี พบ สวิตเซอร์แลนด์

วันที่ 22 มิถุนายน - เวลา 01:30 สเปน พบ ฮอนดูรัส

วันที่ 22 มิถุนายน - เวลา 21:00 เม็กซิโก พบ อุรุกวัย

วันที่ 22 มิถุนายน - เวลา 21:00 ฝรั่งเศส พบ แอฟริกาใต้

วันที่ 23 มิถุนายน - เวลา 01:30 กรีซ พบ อาร์เจนตินา

วันที่ 23 มิถุนายน - เวลา 01:30 ไนจีเรีย พบ เกาหลีใต้

วันที่ 23 มิถุนายน - เวลา 21:00 สโลวีเนีย พบ อังกฤษ

วันที่ 23 มิถุนายน - เวลา 21:00 สหรัฐอเมริกา พบ แอลจีเรีย

วันที่ 24 มิถุนายน - เวลา 01:30 ออสเตรเลีย พบ เซอร์เบีย

วันที่ 24 มิถุนายน - เวลา 01:30 กาน่า พบ เยอรมัน

วันที่ 24 มิถุนายน - เวลา 21:00 ปารากวัย พบ นิวซีแลนด์

วันที่ 24 มิถุนายน - เวลา 21:00 สโลวาเกีย พบ อิตาลี

วันที่ 25 มิถุนายน - เวลา 01:30 แคเมอรูน พบ ฮอลแลนด์

วันที่ 25 มิถุนายน - เวลา 01:30 เดนมาร์ก พบ ญี่ปุ่น

วันที่ 25 มิถุนายน - เวลา 21:00 เกาหลีเหนือ พบ ไอวอรี่โคสต์

วันที่ 25 มิถุนายน - เวลา 21:00 โปรตุเกส พบ บราซิล

วันที่ 26 มิถุนายน - เวลา 01:30 สวิตเซอร์แลนด์ พบ ฮอนดูรัส

วันที่ 26 มิถุนายน - เวลา 01:30 ชิลี พบ สเปน


Tony Report : รายงาน
ผลการจับสลากแบ่งกลุ่มในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย

กลุ่ม A
แอฟริกาใต้ เข้ารอบสุดท้ายในฐานะประเทศเจ้าภาพ
เม็กซิโก ตัวแทนจากโซนคอนคาเคฟ
อุรุกวัย ตัวแทนจากโซนอเมริกาใต้
ฝรั่งเศส ตัวแทนจากโซนยุโรป

กลุ่ม B
อาร์เจนตินา ตัวแทนจากโซนอเมริกาใต้
ไนจีเรีย ตัวแทนจากโซนแอฟริกา
เกาหลีใต้ ตัวแทนจากโซนเอเชีย/โอเชียเนีย
กรีซ ตัวแทนจากโซนยุโรป

กลุ่ม C
อังกฤษ ตัวแทนจากโซนยุโรป
สหรัฐอเมริกา ตัวแทนจากโซนคอนคาเคฟ
แอลจีเรีย ตัวแทนจากโซนแอฟริกา
สโลวีเนีย ตัวแทนจากโซนยุโรป

กลุ่ม D
เยอรมนี ตัวแทนจากโซนยุโรป
ออสเตรเลีย ตัวแทนจากโซนเอชีย/โอเชียเนีย
เซอร์เบีย ตัวแทนจากโซนยุโรป
กานา ตัวแทนจากโซนแอฟริกา

กลุ่ม E
เนเธอร์แลนด์ ตัวแทนจากโซนยุโรป
เดนมาร์ก ตัวแทนจากโซนยุโรป
ญี่ปุ่น ตัวแทนจากโซนเอเชีย/โอเชียเนีย
แคเมอรูน ตัวแทนจากโซนแอฟริกา

กลุ่ม F
อิตาลี ตัวแทนจากโซนยุโรป
ปารากวัย ตัวแทนจากโซนอเมริกาใต้
นิวซีแลนด์ ตัวแทนจากโซนเอเชีย/โอเชียเนีย
สโลวาเกีย ตัวแทนจากโซนยุโรป

กลุ่ม G
บราซิล ตัวแทนจากโซนอเมริกาใต้
เกาหลีเหนือ ตัวแทนจากโซนเอเชีย/โอเชียเนีย
ไอวอรีโคสต์ ตัวแทนจากโซนแอฟริกา
โปรตุเกส ตัวแทนจากโซนยุโรป

กลุ่ม H
สเปน ตัวแทนจากโซนยุโรป
สวิตเซอร์แลนด์ ตัวแทนจากโซนยุโรป
ชิลี ตัวแทนจากโซนอเมริกาใต้
ฮอนดูรัส ตัวแทนจากโซนคอนคาเคฟ

Tony Report : รายงาน