มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอิสลามแห่งแรกในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยนักวิชาการอิสลามและผู้ทรงคุณวุฒิด้านอิสลามศึกษาในภูมิภาค ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการส่งเสริมและพัฒนาด้านอิสลามศึกษาและศาสตร์อื่นๆ
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2541 มีชื่อว่า "วิทยาลัยอิสลามยะลา" โดยมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ระดับปริญญาตรี จำนวน 200 คน ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาชะรีอะฮุ (กฎหมายอิสลาม) และสาขาวิชาอุศูลุดดีน (หลักการศาสนาอิสลาม) ซึ่งมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านอาคาร และสิ่งก่อสร้างจากธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา (LDB)
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
สีประจำมหาวิทยาลัย
สีเขียว หมายถึง ความเป็นผู้นำ นักเคลื่อนไหว เป็นพลวัตรของนักศึกษามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ของอิสลาม
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ต้นพิกุล เป็นต้นไม่ที่เจริญเติบโตได้ทุกภาคของไทย นิยมปลูกกันมากในภาคใต้ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของมุสลิมในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้
บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย
- นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายกสภามหาวิทยาลัย อดีตประธานรัฐสภา
- นายอารีย์ วงศ์อารยะ อุปนายสภามหาวิทยาลัย อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
- ดร.อิสมาอีลลุดฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
วิทยาเขตปัตตานี
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี ที่ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
อาคารละหมด (มัสยิด) |
หอประชุม |
พิธีมอบปริญญาบัตร |
Present by Tony Report.
สถานบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา อิสลาม แห่งแรกของประเทศไทย (เอกชน)
ตอบลบการศึกษาที่มีสภาพแวดล้อม สอดคล้องกับความเป็นอิสลาม อีกทั้งความพร้อมที่มีอย่างเต็มเปี่ยมในการมอบความรู้ให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้
ลบ