วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี

ประวัติสโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี "ฉลามชล" ที่สนามชลบุรีสเตเดี่ยม


ยุคเริ่มต้น (โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา)

ทีมสโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี แต่เดิมเป็น ทีมสโมสรฟุตบอลของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และได้เข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลสโมรสรชิงถ้วยพระราชทาน ต่อมาได้ถูกรวมเข้ากับทีม สโมสรสันนิบาตสมุทรปราการ โดยใช้ชื่อ สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ ได้เข้าแข่งขันใน ดิวิชัน 1
ต่อมาได้ย้ายไปเล่นใน โปรวินเชียลลีก ในชื่อ สโมรสรฟุตบอลชลบุรี และได้แยกทีม สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ ซึ่งเล่นในดิวิชัน 1 อยู่ โดยทีมสโมสรชลบุรีนั้นได้นำผู้เล่นจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี และได้ชนะเลิศโปรลีกในปี 2548 และได้เลื่อนมาเล่นใน ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกในปี 2549
ในปี 2549 ทีมชลบุรี ร่วมลงแข่งขันฟุตบอลควีนส์คัพ ในนามของ สโมสรราชประชา และเข้าร่วมแข่ง สิงคโปร์คัพ และได้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ได้อันดับสอง รองจาก สโมสรฟุตบอลทัมปิเนสโรเวอร์ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

ยุคปัจจุบัน

ในปี 2550 สโมสรฟุตบอลชลบุรี ภายใต้การนำของหัวหน้าผู้ฝึกสอน จเด็จ มีลาภ สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ในการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2550 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร และได้สิทธิเป็นตัวแทนจากประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก
ปี 2551 สโมสรฟุตบอลชลบุรีสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก ประจำปี 2550 มาได้ แต่ไม่สามารถป้องกันแชมป์ฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกไว้ได้ ทำได้เพียงตำแหน่งรองชนะเลิศ ส่วนทีมชนะเลิศได้แก่สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ปัจจุบันคือสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์พีอีเอ) ทำให้ต้องไปเล่นในรายการเอเอฟซีคัพซึ่งเป็นถ้วยรองในระดับทวีปเอเชียแทน
ปี 2552 สโมสรฟุตบอลชลบุรี มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอน โดยได้เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง จากจุฬายูไนเต็ด มาคุมทีมแทนจเด็จ มีลาภ ที่ย้ายไปคุมทีมพัทยายูไนเต็ด ในปีนี้สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. ประจำปี 2551 มาครองได้อีกครั้ง แต่ในฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ โดยทำได้เพียงตำแหน่งรองชนะเลิศอีกครั้งหนึ่ง ส่วนทีมชนะเลิสได้แก่สโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอกยูไนเต็ด
ในปี 2553 สโมสรฟุตบอลชลบุรีได้ จเด็จ มีลาภ กลับมาคุมทีมอีกครั้ง พร้อมกับย้ายสนามเหย้าจากสนามสิรินธร โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา มาที่สนามสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ในฤดูกาลนี้ สโมสรฟุตบอลชลบุรีทำได้เพียงอันดับที่ 3 ในการแข่งขันไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก แต่ก็ยังสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศฟุตบอลถ้วยในรายการมูลนิธิไทยคมเอฟเอคัพมาครองได้ เป็นครั้งแรก ทำให้ได้รับสิทธิเป็นตัวแทนจากประเทศไทยเข้ามร่วมแข่งขันฟุตบอลรายการเอเอฟซีคัพ ประจำปี 2554
ในปี 2554 สโมสรฟุตบอลชลบุรีย้ายสนามเหย้าจากสนามสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตขลบุรี มาใช้สนามชลบุรีสเตเดียม โดยได้ วิทยา เลาหกุล ลงมารับตำแหน่งผู้จัดการทีมเต็มตัว ทำงานร่วมกับ จเด็จ มีลาภ ซึ่งในปีเดียวกันนี้สโมสรสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. ประจำปี 2553 มาครองไว้ได้ ซึ่งถือเป็นสมัยที่สามในประวัติศาสตร์สโมสร
ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นทีมที่มีการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยม มีความเป็นมืออาชีพ และกองเชียร์ Blue Blood ที่เหนียวแน่น และเลื่องชื่อลือชาในลีลาการเชียร์

แผนการจดทะเบียนเป็นบริษัทนิติบุคคล

เดือนเมษายน พ.ศ. 2551 สโมสรฟุตบอลชลบุรีเตรียมจดทะเบียนสโมสรให้อยู่ในรูปของบริษัทนิติบุคคล โดยใช้ชื่อ บริษัท สโมสรฟุตบอลชลบุรี จำกัด พร้อมกับจดลิขสิทธิ์ฉายา ฉลามชล และโลโก้ปลาฉลามของสโมสรด้วย ซึ่งบริษัทจะทำหน้าที่อย่างเต็มตัวในการแข่งขันไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกฤดูกาลปี พ.ศ. 2552 เพื่อความสะดวกในการวางงบประมาณทำทีมและแผนงานต่าง ๆ ทั้งนี้ อรรณพ สิงห์โตทอง ผู้ช่วยผู้จัดการทีม ประมาณการว่าจะใช้เงินทุนในการจัดตั้งไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 7 คน ส่วนอุปสรรคที่จะได้พบหลังจากการจดทะเบียน คือ สโมสรรวมถึงนักฟุตบอลทุกคนจะต้องเสียภาษีรวมแล้วประมาณร้อยละ 7 ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอกับงบประมาณการทำทีมที่ได้รับทุกปี โดยในประเด็นนี้ อรรณพกล่าวว่าจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้นพอที่จะใช้จ่ายในทุกด้าน

เข้าร่วมแข่งขันในระดับทวีปครั้งแรก

ทีมชลบุรีได้สิทธิร่วมแข่งขันในเอเอพซีแชมเปียนส์ลีกในฐานะผู้ชนะเลิศไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2550 โดยภายหลังจากจับฉลากแบ่งสาย ชลบุรีได้อยู่ในสาย G แข่งขันกับ เมลเบิร์น วิกตอรี(ออสเตรเลีย) กัมบะ โอซะกะ (ญี่ปุ่น) และ ชุนนัม ดรากอนส์ (เกาหลีใต้) โดยทีมชลบุรีได้ใช้ สนามศุภชลาศัย เป็นสนามเหย้าแทน สนามเทศบาลเมืองชลบุรี ซึ่งไม่ผ่านการตรวจมาตรฐานของ เอเอฟซีซึ่งทีมชลบุรี โชว์ฟอร์มใน 2 นัดแรกได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อนัดแรกสามารถบุกไปเสมอกัมบะ โอซะกะได้ถึงถิ่น แบบชนิดที่เรียกว่าโดนเจ้าถิ่นตีเสมอในช่วงทดเวลาบาดเจ็บอย่างน่าเสียดาย และต่อมาในนัดที่สอง สามารถเปิดบ้านไล่ถล่ม เมลเบิร์น วิคตอรี่ ยอดทีมจากออสเตรเลีย ไปได้แบบขาดลอย 3 ประตูต่อ 1 แต่ทว่า ใน 4 นัดที่เหลือ ชลบุรีสามารถเก็บเพิ่มได้อีกแค่แต้มเดียว ในนัดที่เปิดรังเสมอกับ ชุนนัม ดรากอนส์ จากเกาหลีใต้ ทำให้ในท้ายที่สุดแล้ว ชลบุรีจึงได้อันดับบ๊วยของกลุ่ม ชวดเข้าไปเล่นในรอบต่อไปในที่สุด อย่างไรก็ดี ถือว่าเป็นผลงานที่น่าประทับใจสำหรับชลบุรี สำหรับในการแข่งขันระดับทวีปครั้งแรก

เอเอฟซีคัพ

ทีมชลบุรีได้สิทธิร่วมแข่งขันในรายการเอเอฟซีคัพหลังทำได้เพียงตำแหน่งรองชนะเลิศไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2551 ซึ่งรายการนี้เป็นรายการที่รองมาจากเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก โดยภายหลังจากจับฉลากแบ่งสายรอบแรก ชลบุรีได้อยู่ในสาย G โซนตะวันออก โดยอยู่ร่วมสายเดียวกับทีม ฮานอย เอซีบี (เวียดนาม) อีสเทิร์น แอธเลติก (ฮ่องกง) และ เคดาห์ (มาเลเซีย)
ด้วยผลงานอันยอดเยี่ยมชลบุรีเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในฐานะแชมป์ของกลุ่ม G ไปเจอกับทีม พีเอสเอ็มเอส เมดาน จากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งชลบุรีเอาชนะไปได้ด้วยสกอร์ 4 ประตูต่อ 0 ผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ พบกับบินห์เยือง สโมสรจากเวียดนาม แต่ก็ต้องพบกับความผิดหวังเมื่อทีม ตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย

อดีดผู้เล่นคนสำคัญ

  • ปิยพล บรรเทา
  • โคเน่ โมฮาเม็ด
  • ไมเคิล เบิร์น
  • ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์
  • สุรัตน์ สุขะ

ผลงาน

ภายในประเทศ


ระดับทวีป


รายการอื่นๆ


ผลงานตามฤดูกาล








Present by Tony Report.
เว็บไซต์ของสโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี
http://www.chonburifc.net/

1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นสโมสรแรกเริ่มที่ทำให้วงการฟุตบอลไทยตื่นตัวได้มากขนาดนี้ ต้องยกความดีความชอบของคุณจริงๆ "ฉลามชน" ชลบุรี เอฟซี

    ตอบลบ