วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี

ประวัติสโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี "ฉลามชล" ที่สนามชลบุรีสเตเดี่ยม


ยุคเริ่มต้น (โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา)

ทีมสโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี แต่เดิมเป็น ทีมสโมสรฟุตบอลของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และได้เข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลสโมรสรชิงถ้วยพระราชทาน ต่อมาได้ถูกรวมเข้ากับทีม สโมสรสันนิบาตสมุทรปราการ โดยใช้ชื่อ สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ ได้เข้าแข่งขันใน ดิวิชัน 1
ต่อมาได้ย้ายไปเล่นใน โปรวินเชียลลีก ในชื่อ สโมรสรฟุตบอลชลบุรี และได้แยกทีม สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ ซึ่งเล่นในดิวิชัน 1 อยู่ โดยทีมสโมสรชลบุรีนั้นได้นำผู้เล่นจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี และได้ชนะเลิศโปรลีกในปี 2548 และได้เลื่อนมาเล่นใน ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกในปี 2549
ในปี 2549 ทีมชลบุรี ร่วมลงแข่งขันฟุตบอลควีนส์คัพ ในนามของ สโมสรราชประชา และเข้าร่วมแข่ง สิงคโปร์คัพ และได้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ได้อันดับสอง รองจาก สโมสรฟุตบอลทัมปิเนสโรเวอร์ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี

ประวัติสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี "ช้างศึกยุทธหัตถี"

สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2541 เคยสร้างผลงานยิ่งใหญ่ เป็นแชมป์โปรวินเชียลลีก 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2545 และ 2547 ก่อนจะขยับขึ้นชั้นมาเล่นในไทยลีก เมื่อ 3 ปีก่อน แต่แค่ปีเดียวก็ทนแรงเสียดทานในลีกสูงสุดของประเทศไม่ไหว จึงหล่นลงมาอยู่ในลีก ดิวิชั่น 1 จนถึงปัจจุบัน โดยในห้วง 2–3 ปีที่ผ่านมา ทีมสุพรรณบุรี มีแต่ข่าวคราวด้านลบออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกรณีรุมทำร้ายนักเตะต่างชาติในทีมปางตาย จนเป็นข่าวหน้าหนึ่งแทบทุกฉบับ หรือเรื่องการออกมาประท้วงเรียกร้องเงินเดือนที่ติดค้างของผู้เล่นแกนนำบางคน จนมาถึงฤดูกาล 2553 ดูเหมือนสถานการณ์ต่างๆ ของทีมสุพรรณบุรี เอฟซี เริ่มคลี่คลาย ปัญหารุมเร้าที่เคยเกิดขึ้นในอดีตถูกขจัดทิ้งไปไม่เหลือ โดยกลุ่มผู้บริหารทีมที่นำโดย ประธานสโมสร บุญชู จันทร์สุวรรณ นายก อบจ.สุพรรณบุรี ทำการล้างไพ่ใหม่ หมด พร้อมกับจดทะเบียนทีมเป็นนิติบุคคล ภายใต้ชื่อ "บริษัท สโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี เอฟซี จำกัด"


สโมสรฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลก

ประวัติสโมสรฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลก

พ.ศ. 2547-48
         สโมสรฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลก ในอดีตที่ผ่านมามีหลายรุ่นมากมายที่พลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าร่วมการแข่งขันในนามตัวแทนจังหวัดพิษณุโลกทั้งยามาฮ่าไทยแลนด์คัพการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ เป็นต้น จนกระทั่งในปี 2547-2548 ทีมพิษณุโลกได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น2 โดยมี พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว เป็นผู้ก่อตั้งและควบคุมทีมในขณะนั้น โดยในครั้งนี้ ทีมจังหวัดพิษณุโลก สามารถทำผลงานอยู่ที่อันดับรองชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น2 รอบคัดเลือกโซนภาคเหนือ มาได้หลังจากที่ในนัดชิงชนะเลิศต้องพ่ายให้กับ ทีมจังหวัดเชียงใหม่ ไป 0-1 ที่จังหวัดพิจิตรเป็นเจ้าภาพ แต่ยังได้สิทธิเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายการแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น2 ระดับประเทศ ที่จังหวัดสกลนคร และสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศมาครองได้ โดยการเบียดชนะเจ้าภาพอย่างทีมจังหวัดสกลนคร มาได้ 1-0 ซึ่งส่งผลให้ทีมจังหวัดพิษณุโลก ได้โควต้าขึ้นมาเล่น ฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น 1 ในปีถัดมา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก


ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เป็นมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 ซึ่งได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2548 เป็นต้นมา โดยในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้กำหนดให้รวมกลุ่มวิทยาเขตในสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 4 วิทยาเขต และ 1 คณะ ตามมาตรา 65(3) ได้แก่ วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ วิทยาเขตอุเทนถวาย วิทยาเขตบางพระ วิทยาเขตจันทบุรี และคณะเกษตรศาสตร์บางพระ พร้อมทั้งให้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ตามมาตรา 5(3)
     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จัดการเรียนการศึกษาทั้งในระดับอุดมศึกษาและระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ในสาขาวิชาชีพต่างๆ กระจายอยู่ตามวิทยาเขตในสังกัดทั้ง 4 แห่ง ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของแต่ละวิทยาเขตซึ่งหน่วยงานแต่ละแห่งของมหาวิทยาลัยฯ ล้วนมีประวัติในการก่อตั้ง และจัดการศึกษาด้านวิชาชีพไม่น้อยกว่า 50 ปี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 ใน 15 แห่ง ที่จัดการศึกษาระดับ ปริญญาสายวิชาชีพ ด้วยความเชี่ยวชาญมาอย่างยาวนานแห่งหนึ่งของประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีพื้นที่ 11 ไร่ ที่ตั้ง 122/41 ถนนวิภาวดีรังสิต ดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

สโมสรฟุตบอลจังหวัดพังงา

ตราประจำสโมสร
สโมสรฟุตบอลจังหวัดพังงา เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดพังง

ประวัติสโมสร

สโมสรฟุตบอลจังหวัดพังงา เจ้าของฉายา "เรือขุดมหากาฬ" ภายใต้การนำของประธานสโมสร ฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา ร่วมกับ รวยชัย กิตติพรหมวงศ์ นายกสมาคมกีฬาจังหวัดพังงา ที่มีความประสงค์ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันเพื่อสร้างฟุตบอลอาชีพให้เกิดขึ้นกับจังหวัดพังงา และสร้างทีมฟุตบอลของพังงาให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งเหมือนสมัยที่เคยร่วมแข่งขันฟุตบอลโปรวินเชียลลีกในอดีต
ซึ่งการสร้างทีมพังงาเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ครั้งนี้ก็ได้กลุ่มคนที่มีใจรักกีฬาฟุตบอลในจังหวัดได้แก่ นักการเมืองท้องถิ่นอย่าง ส.จ.สมบัติ จินดาพล เข้ามาเป็นผู้จัดการทีม, ส.จ.สมชาย ประเสริฐพรพงศ์, ส.จ.บัญญัติ อนันตมงคลกุล, บรรพต ตันติเพชราภรณ์ นั่งเก้าอี้กรรมการบริหารสโมสร และ ส.ท.สุทธิพงศ์ โกยสกุล ประธานฝ่ายสิทธิประโยชน์สโมสร ซึ่งกลุ่มดังกล่าวเป็นผู้คลุกคลีในวงการฟุตบอลจังหวัดที่ผ่านมาโดยตลอด ได้มีการประสานพลัง ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน โดยมีพันธกิจคือสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพให้เกิดขึ้นในจังหวัดแบบเป็นระบบ และสร้างโรงเรียนกีฬาให้กับชาวจังหวัดพังงาให้ได้

มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา


มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอิสลามแห่งแรกในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยนักวิชาการอิสลามและผู้ทรงคุณวุฒิด้านอิสลามศึกษาในภูมิภาค ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการส่งเสริมและพัฒนาด้านอิสลามศึกษาและศาสตร์อื่นๆ
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2541 มีชื่อว่า "วิทยาลัยอิสลามยะลา" โดยมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ระดับปริญญาตรี จำนวน 200 คน ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาชะรีอะฮุ (กฎหมายอิสลาม) และสาขาวิชาอุศูลุดดีน (หลักการศาสนาอิสลาม) ซึ่งมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านอาคาร และสิ่งก่อสร้างจากธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา (LDB)
ต่อมาได้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สโมสรฟุตบอลจังหวัดปัตตานี


ตราประจำสโมสรฟุตบอลปัตตานี

ประวัติสโมสร

จังหวัดปัตตานีได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการการแข่งขันฟุตบอลโปรลีกที่จัดขึ้นมาเป็นครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2542 แต่สิ้นสุดการแข่งขัน จังหวัดปัตตานี จบด้วยอันดันสุดท้าย จังหวัดปัตตานีก็ได้ขอถอนตัวออกจากฟุตบอลโปรลีกในปีต่อมา ด้วยเหตุผลไม่มีงบประมาณ(ซึ่งจังหวัดที่ได้รับการพิจารณามาแทนคือทีมจังหวัดชลบุรีซึ่งต่อมาพัฒนาขึ้นมา จนเป็นมหาอำนาจลูกหนังเมืองไทย) นับตั้งแต่ พ.ศ 2542 ช่วงเวลาที่ผ่านมา10ปีเต็มๆสำหรับทีม ที่ได้ชื่อว่ามหาอำนาจทีมหนึ่งของภาคใต้ อย่างจังหวัดปัตตานี ทีมที่เคยคว้าแชมป์ฟุตบอลโล่ห์พระราชทานชิงแชมป์ภาคใต้มาแล้วถึง 3ครั้ง จำนวนผู้ชมก็มีมากไม่แพ้สตูลและสงขลาได้หายไป ชาวปัตตานีต้องแอบเชียร์ทีมต่างๆที่เป็นจังหวัดเพื่อนบ้านอย่างสงขลา สตูล และนราธิวาส โลดแล่นอยู่ในวงการฟุตบอลลีกของของเมืองไทย อย่างเงียบๆ

สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุราษฎร์ธานี


ตราประจำสโมสรฟุตบอล
สุราษฎร์ธานี เอฟซี

ประวัติสโมสร

สโมสรฟุตบอลสุราษฎร์ธานี เริ่มก่อตั้งสโมสรเมื่อปี พ.ศ. 2542 พร้อมๆ กับหลายสโมสรในแต่ละจังหวัดของประเทศไทย จุดประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพ และระบบกีฬาฟุตบอลไทย เพื่อให้ก้าวไปสู่ระบบความเป็นสโมสรในรูปแบบอาชีพที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ และได้จัดระบบลีกขึ้นมารองรับการแข่งขันในระบบ เหย้า-เยือน ในนาม "โปรวินเชี่ยล ลีก" ดูแลการแข่งขันโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งจะมีการแข่งขันไปพร้อมๆ กับลีกที่จัดแข่งขันมาตั้งแต่ดั้งเดิมภายในประเทศ และส่วนใหญ่เป็นทีมที่มีการแข่งขันกันในกรุงเทพมหานคร